You are currently viewing อธิบดีกรมโรงงานฯ หารือทวิภาคีญี่ปุ่น แลกเปลี่ยนมุมมอง นวัตกรรม ที่เหมาะสมกับการจัดการกากอุตสาหกรรมในประเทศไทย พร้อมผลักดันนำกากมาหมุนเวียนเป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรม

วันที่ 19 ธันวาคม 2566 เวลา 09.30 น. นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการประชุมให้คำปรึกษาด้านเทคนิค (Technical Consultation) การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกากอุตสาหกรรมในประเทศไทย ภายใต้ความร่วมมือทวิภาคี ระหว่าง กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) และ กระทรวงสิ่งแวดล้อมประเทศญี่ปุ่น โดย สำนักฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและวัฏจักรของวัสดุ โดยมี นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมด้วย คณะทำงานกำกับ ดูแล และดำเนินงานตามบันทึกความร่วมมือด้านการจัดการกากอุตสาหกรรม และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการกากอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 505 ชั้น 5 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการเข้าร่วมการประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ZOOM Conference)

นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม

การประชุมให้คำปรึกษาด้านเทคนิค (Technical Consultation) ในครั้งนี้ กรอ. ได้ร่วมหารือความคิดเห็นและองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการกากอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น อาทิ การจัดการยิปซัมจากอุตสาหกรรมผลิตกรดอินทรีย์ การรีไซเคิล LED ที่ใช้แล้ว การนำเทคโนโลยีการผลิตไฮโดรเจนไปใช้ประโยชน์ และระบบการจัดการของเสียของประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินการตามนโยบายการสิ้นสุดการเป็นของเสีย (End of Waste) และการจัดการข้อมูลในระบบทะเบียนลูกค้ากระทรวงอุตสาหกรรม (i-Industry) ซึ่งเป็นระบบการจัดการกากอุตสาหกรรมของประเทศไทยในปัจจุบัน เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองที่จะนำมาปรับใช้ให้เกิดการพัฒนาแนวคิดและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับการจัดการกากอุตสาหกรรมในประเทศไทย ตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ BCG Economy (Bio-Circular-Green Economy) มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Societies)

การประชุมให้คำปรึกษาด้านเทคนิค (Technical Consultation) การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกากอุตสาหกรรมในประเทศไทย
การประชุมให้คำปรึกษาด้านเทคนิค (Technical Consultation) การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกากอุตสาหกรรมในประเทศไทย

นายจุลพงษ์ เผยว่า การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกากอุตสาหกรรมในประเทศไทย นับเป็นความร่วมมือทวิภาคีระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นที่ดำเนินการต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ซึ่งการปรึกษาเชิงเทคนิคในครั้งนี้ กรอ. ได้เชิญผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วม เพื่อแสดงข้อคิดเห็นในส่วนของภาคเอกชน ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และผลักดันให้เกิดการนำกากอุตสาหกรรมมาหมุนเวียนเป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมต่อไป

สำหรับผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย นางสาวศิรกาญจน์ เหลืองสกุล ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม นางนุชนาถ สุพรรณศรี นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเทคโนโลยีการกำจัดและการจัดการกากอุตสาหกรรม นายเอกบุตร อุตมพงศ์ รักษาการนักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญ กองส่งเสริมเทคโนโลยีความปลอดภัยโรงงาน คณะทำงานกำกับ ดูแล และดำเนินงานตามบันทึกความร่วมมือด้านการจัดการกากอุตสาหกรรม ร่วมด้วย Ms. Osawa Yurie เลขานุการเอกจากสถานทูตญี่ปุ่น Mr. Soichiro Seki ประธานศูนย์ข้อมูลด้านกากอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น และ Mr. Masato Ohno ประธาน บริษัท EX Research Institute

นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
นางสาวศิรกาญจน์ เหลืองสกุล ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรอ.
นางสาวศิรกาญจน์ เหลืองสกุล ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรอ.
คณะทำงานกำกับ ดูแล และดำเนินงานตามบันทึกความร่วมมือด้านการจัดการกากอุตสาหกรรม
คณะทำงานกำกับ ดูแล และดำเนินงานตามบันทึกความร่วมมือด้านการจัดการกากอุตสาหกรรม
Ms. Osawa Yurie เลขานุการเอกจากสถานทูตญี่ปุ่น
Ms. Osawa Yurie เลขานุการเอกจากสถานทูตญี่ปุ่น
ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการกากอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น
ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการกากอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรมโรงงาน #กรอ #DIW #MIND #กระทรวงอุตสาหกรรม #TechnicalConsultation #การจัดการกากอุตสาหกรรม #ไทยญี่ปุ่น #กระทรวงสิ่งแวดล้อมประเทศญี่ปุ่น #สำนักฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและวัฏจักรของวัสดุ #ยิปซัม #กรดอินทรีย์ #รีไซเคิล #LED #ไฮโดรเจน #การสิ้นสุดการเป็นของเสีย #EndofWaste #ระบบทะเบียนลูกค้ากระทรวงอุตสาหกรรม #iIndustry #โมเดลเศรษฐกิจ #BCG #สังคมคาร์บอนต่ำ #LowCarbon