You are currently viewing อธิบดีกรมโรงงานฯ ร่วมคณะ รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา ลงเหมืองชุมพร ชมต้นแบบเหมืองแร่สร้างสมดุลสิ่งแวดล้อม ดูแลสู่ชุมชน

วันที่ 22 กันยายน 2566 นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมด้วย นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร เยี่ยมชมการดำเนินงาน บริษัท สมบูรณ์ศิลาทอง จำกัด หนึ่งในต้นแบบสถานประกอบการเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง ที่สร้างความสมดุลการประกอบกิจการในพื้นที่ โดยยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน พร้อมกระจายรายได้สู่ชุมชน

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมการดำเนินงาน บริษัท สมบูรณ์ศิลาทอง จำกัด
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เยี่ยมชมการดำเนินงาน บริษัท สมบูรณ์ศิลาทอง จำกัด

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า  กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบกำกับดูแลอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ได้ดำเนินการอย่างเคร่งครัด ทั้งในด้านการกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพในการทำเหมือง หรือ “เขตแหล่งแร่เพื่อการทำเหมือง” เพื่อให้การทำเหมืองเป็นไปอย่างถูกกฎหมายตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560  ทั้งนี้ กระบวนการบริหารจัดการแร่จะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดภายใต้ดุลยภาพด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน

นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม

โดย บริษัท สมบูรณ์ศิลาทอง จำกัด เป็นผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง และโรงโม่ บดและย่อยหิน ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการ สามารถประกอบกิจการโดยไม่มีข้อร้องเรียนจากภาคประชาชน มีการบริหารจัดการวัสดุที่เป็นปลายโปรดักส์ หรือวัสดุเหลือใช้ (end products or waste materials) มาสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งได้รับรางวัลอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับ 3 (Green System) รางวัลเหมืองแร่สีเขียว (Green Mining Award 2017 -2021) และเป็นสถานประกอบการที่มีการดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่เป็นรูปธรรม มีการจัดเจ้าหน้าที่เพื่อประสานงานรับข้อคิดเห็นจากชุมชน ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิต การพัฒนาด้านสาธารณูปโภคให้กับชุมชน มีโครงการเสริมสร้างอาชีพใหม่ให้กับชุมชนผ่านกองทุนรอบโรงงานที่มีอยู่ และตรวจสอบและเฝ้าระวังผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ พร้อมทั้งการบริหารการใช้เครื่องจักรที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อลดผลกระทบต่อส่วนรวม ทั้งนี้ พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย มีสถานประกอบการที่ได้รับประทานบัตร โรงแต่งแร่ โม่ บด ย่อยหิน จำนวน 160 ราย มีมูลค่าการส่งออกในปี 2565 จำนวน 3,565.28 ล้านบาท

บริษัท สมบูรณ์ศิลาทอง จำกัด เป็นผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง และโรงโม่ บดและย่อยหิน ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการ
บริษัท สมบูรณ์ศิลาทอง จำกัด เป็นผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง และโรงโม่ บดและย่อยหิน ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการ
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
(ซ้าย-ขวา) นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม, นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และ นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม
(ซ้าย-ขวา) นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม, นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และ นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม
กระบวนการบริหารจัดการแร่จะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดภายใต้ดุลยภาพด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน
กระบวนการบริหารจัดการแร่จะต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดภายใต้ดุลยภาพด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชน

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรมโรงงาน #กรอ #DIW #MIND #กระทรวงอุตสาหกรรม #รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม #บริษัทสมบูรณ์ศิลาทองจำกัด #สมบูรณ์ศิลาทอง #เหมืองแร่หิน #เหมืองแร่ #GreenSystem #อุตสาหกรรมสีเขียว #เหมืองแร่สีเขียว #GreenMiningAward