You are currently viewing กรมโรงงานฯ เร่งขอความเห็น กำหนดโควตาปริมาณการนำเข้าสาร HFCs มีผล 1 มกราคม 2567

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการสัมมนาหารือแนวทางการจัดสรรสิทธิปริมาณการนำเข้าสารไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) เพื่อกำหนดโควตาปริมาณการนำเข้าสาร HFCs ภายใต้พิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment) ซึ่งจะมีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 โดย นางสาวรัตนา รักษ์ตระกูล ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการวัตถุอันตราย เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วย ดร.วิรัช วิฑูรเธียร ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านสิ่งแวดล้อมจากธนาคารโลก และนางสาวนาถวรรณ สุขชัย ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โอโซน เป็นวิทยากรบรรยายและตอบข้อซักถาม มีผู้ประกอบการที่นำเข้า – ส่งออกสาร HFCs และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการสัมมนารวมทั้งสิ้นจำนวน 200 คน ณ ห้องราชเทวี 2 ชั้น 3  โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ

นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการสัมมนาหารือแนวทางการจัดสรรสิทธิปริมาณการนำเข้าสารไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) เพื่อกำหนดโควตาปริมาณการนำเข้าสาร HFCs ภายใต้พิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี (Kigali Amendment)
นางสาวรัตนา รักษ์ตระกูล ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการวัตถุอันตราย เป็นผู้กล่าวรายงาน

การสัมมนาในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ

  1. นำเสนอแนวทางในการจัดสรรสิทธิปริมาณการนำเข้าสาร HFCs ให้แก่ผู้นำเข้า โดยการควบคุมในหน่วยของตันก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
  2. รับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมสัมมนา นำมาสรุปและจัดทำหลักเกณฑ์การจัดสรรสิทธิปริมาณการนำเข้าให้เป็นแนวทางของประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ผู้นำเข้าสามารถวางแผนธุรกิจการนำเข้าและส่งออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดร.วิรัช วิฑูรเธียร ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านสิ่งแวดล้อมจากธนาคารโลก
นางสาวนาถวรรณ สุขชัย ผู้อำนวยการกลุ่มอนุรักษ์โอโซน เป็นวิทยากรบรรยาย

ทั้งนี้ เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกและนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม ด้านการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่ตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลก มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) ประเทศไทยอยู่ระหว่างเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เพื่อให้สัตยาบันต่อพิธีสารมอนทรีออล ฉบับแก้ไข ณ กรุงคิกาลี โดยสัตยาบันนี้มีผลให้ไทยต้องลดปริมาณการใช้สารไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrofluorocarbon : HFCs) จนเหลือไม่เกินร้อยละ 20 ในปี พ.ศ. 2588

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรมโรงงาน #กรอ #DIW #กระทรวงอุตสาหกรรม #MIND #กองบริหารจัดการวัตถุอันตราย #กลุ่มอนุรักษ์โอโซน #HFCs